ประเทศเนเธอร์แลนด์ (หรือ “ฮอลแลนด์”) ถือเป็นประเทศในยุโรปที่คนไทยรู้จักกันดี
คำว่า “เนเธอร์แลนด์” (Netherlands) มีรากมาจากภาษาดัทช์ว่า
“neder” ที่แปลว่า “ต่ำ” ซึ่งก็หมายถึงแผ่นดินของประเทศประมาณ 25% ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลนั่นเอง
เหตุผลที่ประเทศอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลมาจาก
เนเธอร์แลนด์เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำใหญ่ของยุโรป 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำไรน์ (Rhine) แม่น้ำวาล (Waal)
และแม่น้ำเมิส (Meuse) ทำให้ที่ดินบริเวณนั้นมีสภาพเป็นปากแม่น้ำ
(delta) เป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการสะสมโคลนตมจากแม่น้ำ
ลักษณะแบบเดียวกับกรุงเทพมหานครที่อยู่บนปากแม่น้ำเจ้าพระยา
แผนที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ สังเกตทะเลสาบทางภาคเหนือ และปากแม่น้ำตอนใต้ (ภาพจาก Wikipedia)
ภาพถ่ายดาวเทียมของเนเธอร์แลนด์
(ภาพจาก NASA ที่มา Wikipedia)
แต่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น
ทะเลเหนือ (North Sea) ที่อยู่หน้าชายฝั่งเนเธอร์แลนด์
ยังมีปรากฎการณ์ที่เรียกว่า storm tide หรือคลื่นชายฝั่งยกตัวสูงจากพายุ
ซึ่งระดับน้ำอาจมีความสูงถึง 5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปกติ มิหนำซ้ำ
น้ำทะเลจากปรากฏการณ์ storm tide ยังซัดเข้ามายังแม่น้ำที่อยู่ภายในพื้นทวีป
จนเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง
ภาพบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งประวิติศาสตร์ของเนเธอร์แลนด์
ปี ค.ศ. 1953
ประวัติศาสตร์ของเนเธอร์แลนด์จึงต้องเผชิญกับปัญหาเรื่อง
“น้ำ” อยู่เสมอมา
และมีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่นับครั้งไม่ถ้วน คร่าชีวิตและทรัพย์สินของประชากรไปมาก
ความโหดร้ายของธรรมชาติกลับทำให้ชาวดัทช์ต้องลุกขึ้นมาสู้เพื่อเอาชีวิตรอด
ในสมัยโบราณ (สหัสวรรษแรกหลังคริสตกาล) ชาวดัทช์สร้างเนินเขาขนาดเล็กๆ ที่เรียกว่า
“เทิร์พ” (terp) ก่อนจะค่อยๆ
พัฒนาเป็นการสร้างคันดิน เขื่อน ประตูกั้นน้ำ และการใช้กังหันลมวิดน้ำออกจากบริเวณที่ท่วมขัง
ซึ่งภายหลังกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ
เนเธอร์แลนด์มีแนวคิดสร้างกำแพงกั้นน้ำขนาดใหญ่มานาน
และโครงการเพิ่งมาเป็นจริงได้ในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมานี้เอง
สภาพภูมิศาสตร์ของเนเธอร์แลนด์
ทำให้บริเวณภาคเหนือกับภาคใต้มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
โครงการแก้ปัญหาอุทกภัยจึงต้องแบ่งแยกกันตามสภาพพื้นที่
โดยโครงการของภาคเหนือมีชื่อว่า Zuiderzee Works ส่วนโครงการของภาคใต้ชื่อ
Delta Works
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น