• put your amazing slogan here!

    วิธีสร้างเรื่องราวของ Steve Jobs : The Presentation Secrets of Steve Jobs



    The Presentation Secrets of Steve Jobs
    View more presentations from Carmine Gallo
    วิธีพรีเซ้นท์ของ Steve Jobs
    สำหรับใครอยากอ่านเพิ่มเติมเต็มๆ อ่านได้มาจากหนังสือเล่มนี้ครับ “เก่ง Presentation อย่างสตีฟ จอบส์” (The Presentation Secrets of Steve Jobs)
    http://www.se-ed.com/eShop/Products/Detail.aspx?CategoryId=0&No=9786117060069





    Read More >>
    องก์ที่ 1 : สร้างเรื่องราว
    วางแผนแบบ Analog
    • การนำเสนอต้องเริ่มบน “กระดาษและปากกา”
    • ใช้เวลา 90 ชั่วโมงสำหรับการนำเสนอ 1 ชั่วโมง และความยาวสไลด์ไม่เกิน 30 หน้า และจงใช้เวลาสร้าง slide เพียง 1/3 ของเวลาทั้งหมดเท่านั้น (ใช้เวลา 27 ชั่วโมงสำหรับการค้นคว้าความรู้จาก “ผู้เชี่ยวชาญ” เรียบเรียงไอเดีย ประสานงานกับเพื่อนร่วมงาน และร่างโครงร่างในการนำเสนอ)
    สิ่งที่จะสร้างจินตนาการให้ผู้ฟังคือ “เรื่องราว” ไม่ใช่ “slide”
    • Bullet & numbering ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ผู้ฟัง “จดจำและนำไปปฏิบัติ” (หากอยากใช้เอาไปใช้เอง ในเรื่องรายการของที่จะซื้อในชีวิตประจำวัน)
    องค์ประกอบสำหรับการนำเสนอที่ดี
    • Headline – ไอเดียที่อยากให้ผู้ฟังจำ ทำให้ง่าย (ไม่ควรเกิน 140 ตัวอักษร)
    • คำประกาศที่มาจากใจรัก – มีอารมณ์ร่วม หรือรักในสิ่งที่จะพูด (ต้องมี passion ก่อน)
    • ข้อความหลัก 3 คำ – เพราะผู้ฟังจะจำได้แค่ 3-4 คำ เท่านั้น
    • ใช้การเปรียบเทียบและอุปมาอุปไมย – เพื่อช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจแนวคิดของเรา
    • มีการสาธิต (Demonstration) – เลือกสาธิตสิ่งที่น่าสนใจที่สุดให้เห็น แทนที่จะมานั่งอธิบาย
    • หุ้นส่วน (Partner) – แบ่งปันพื้นที่หรือเวทีให้ Partner เราเสมอ (ไม่จำเป็นต้องโชว์เดี่ยว)
    • หลักฐานจากลูกค้า – สิ่งที่ผู้คนเชื่อสุดคือ “Word of Mouth”, เอาคำพูดลูกค้ามาเป็นส่วนในการนำเสนอ
    • Video Clip – ควรจำว่าความยาวเฉลี่ยของคลิปใน YouTube คือ 2.5 นาที
    • ใช้ Presentation หรืออุปกรณ์ประกอบ และดูก่อนแล้วค่อยเล่า (Show-and-Tell) – เหตุผล “โดยมากมนุษย์จะเรียนรู้จากการดู, ฟัง และสัมผัส – แต่จะใช้ “ดู” มากที่สุดก่อน” ข้อควรจำ – slide หรืออุปกรณ์เล่าเรื่องราวไม่ได้ คนเล่าเรื่องราวคือ “คุณ” เท่านั้น
    ตอบคำถามที่สำคัญที่สุด
    • เริ่มต้นที่ “สร้างประสบการณ์กับลูกค้าก่อนแล้วค่อยย้อนกลับมาที่สินค้าของเรา”
    • Focus ที่การขาย “ประโยชน์ของสินค้า” ไม่ใช่ “ตัวสินค้า”
    • หลีกเลี่ยงการพูดถึงแต่เรื่องของตัวเอง และคำศัพท์เฉพาะกลุ่ม
    • ตอบคำถามให้ชัดเจนที่สุดระหว่างนำเสนอ (มีการกล่าวย้ำซ้ำๆ แบบเนียนๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง)

    ตั้งจุดมุ่งหมายให้สูงที่สุด
    • “ทำตามใจรักของคุณ ทำในสิ่งที่คุณรัก แล้วเงินทองจะตามมาเอง คนส่วนใหญ่ไม่เชื่อในเรื่องนี้ แต่มันเป็นความจริง” – Oprah Winfrey
    • ต้องมี “มาดเสน่ห์ของความเป็นผู้นำ”, “คิดให้แตกต่าง”
    • “แม้คุณจะประสบความสำเร็จทางการเงินในงานที่คุณเกลียดได้ แต่จำไว้คุณไม่มี
    วันเป็นนักสื่อสารที่จะจุดประกายให้กับคนอื่นได้เลย ความมีใจรัก คือจุดมุ่งหมายสูงส่งที่อยากจะทำให้โลกนี้น่าอยู่มากขึ้น สร้างความแตกต่างให้กับทุกอย่าง” – Carmine Gallo
    คิดคำพาดหัวในแบบเดียวกับการเขียน Twitter
    น้อยกว่าเท่ากับ 140 ตัวอักษรสำหรับ Headline/vision/product or services (ตรงประเด็น จำง่าย และนำเสนอประโยชน์ส่วนบุคคล) ตัวอย่าง – “1,000 เพลงในกระเป๋าคุณ”
    • เอา Headline ของคุณมาใช้ซ้ำๆ แบบเนียนๆ ในการสนทนา และวัสดุทางการตลาดต่างๆ “ presentation, publication, clipping-news หรือ website เป็นต้น
    • “Headline เป็นคำประกาศวิสัยทัศน์ในอนาคตที่ดีกว่าเดิมของผู้ฟัง ไม่ใช่ คุณ”
    เขียนแผนที่เส้นทาง (Roadmap)
    • ใช้กฎกลุ่มละ 3 ในการนำเสนอ เช่น Agenda มี 3 ข้อหลัก หรือ แบ่งการสาธิตใดๆ เป็น 3 ช่วง (เหตุผล – นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเราสามารถจดจำตัวเลขได้ดีเพียง 3-4 หลักเท่านั้น)
    • ไม่ว่าจะมีไอเดียในการนำเสนอเยอะแค่ไหน ให้จำไว้ “จัดกลุ่ม” มันเป็น 3 กลุ่ม แล้วนำมันไปอธิบาย Roadmap ในการนำเสนอของคุณ
    • เพิ่มวาทศิลป์ในแต่ละข้อความ เช่น ใช้หลักเปรียบเทียบ อุปมาอุปไมย หรือเสียงสนับสนุนจากบุคคลที่ 3
    เปิดตัวศัตรู (Competitor/Problem)
    • “Problem + Solution = Classical of Steve jobs”
    • “ไม่มีใครจะมาสนใจว่าสินค้าจะดีแค่ไหนอย่างไร พวกเขาใส่ใจเฉพาะสิ่งที่จะมาแก้ปัญหาของเขา และช่วยทำให้ชีวิตของเขาสบายขึ้นเท่านั้น”
    • ตอบข้อความเหล่านี้ให้ได้ (1) คุณกำลังทำอะไร? (2) คุณจะแก้ปัญหาอะไร? (3) คุณแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร? (4) ทำไมฉันต้องใส่ใจคุณด้วย?
    เปิดตัวฮีโร่ (Solution)
    พยายามอธิบายปัญหาและทางแก้ไขให้ได้ใน 30 วินาที
    • หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูล สถิติ และศัพท์เฉพาะที่อาจทำให้ผู้ฟังอาจเกิดอาการสมองชาระหว่างนำเสนอ
    • เคารพกฎ 10 นาที – ให้สมองของผู้ฟังได้พักบ้าง (ผู้ฟังจะลดความตั้งใจฟังหลังฟังไป 10 นาที)
    องก์ที่ 2 : ส่งมอบประสบการณ์
    เปิดช่องทางให้กับความเป็นเซ็นที่อยู่ภายใน
    • “ความเรียบง่ายคือสุดยอดของความลึกล้ำ” – Leornado Davinci
    • “No Bullet” เน้นภาพ และเรียบง่าย
    • “Multimedia Presentation Principle” – นำเสนอคำพูดพร้อมรูปภาพ
    • “Contiguity Principle” (หลักการอยู่ชิดติดกัน) – วางข้อความและภาพให้ชิดติดกันดีกว่าแยกกัน
    • “Split-Attention Principle” (หลักการแบ่งความตั้งใจ) – อย่าให้ผู้ฟังมาอ่านข้อความบนจอเอง ให้เล่าให้ฟัง (ไม่ใช่อ่านให้ฟัง)
    • “Coherence Principle” (หลักการสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว” เมื่ออธิบายด้วยสื่อผสม การใช้ข้อความและรูปภาพน้อย จะดีกว่าการใช้ข้อความและรูปภาพมากเกินไป (อย่าใส่ข้อความหรือรูปในทุกๆ พื้นที่ของ slide)
    ตกแต่งตัวเลขของคุณ
    • “เฉพาะเจาะจง ตรงประเด็นและสอดรับบริบท เช่น iPhone 3Gs เร็วเป็นสองเท่าด้วยราคาครึ่งเดียว เป็นต้น
    • จำไว้ “ตัวเลขที่คุณนำไปใช้เสนอจะมีผลต่อผู้ฟังไม่มาก เว้นแต่คุณจะทำให้มันมีความหมายขึ้นมาได้” “ตัวเลขที่ปราศจากบริบทนั้นไม่สามารถสร้างความประทับใจใดๆ ได้”
    ใช้ศัพท์แสงที่สะใจ
    เช่น วิธีที่จ็อบส์อธิบายการโหลดเพลงลง iPod, นิตยสาร Fortune, Nov 2001 – “เสียบมันเข้าไป…อืมมมม…เสร็จแล้ว…”
    • เลือกใช้ถ้อยคำที่สะท้อนบริการ Brand หรือสินค้าออกมาได้ดีที่สุด (แต่หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะวงการ)
    • “สนุกสนานกับการใช้ถ้อยคำ และแสดงออกถึงความตื่นเต้นกระตือรือร้นต่อสินค้าที่กำลังนำเสนอ”
    แบ่งปันเวที
    • จำไว้ “สมองต้องการความหลากหลาย” จำไว้ไม่ว่าคุณจะเก่งหรือดังแค่ไหนก็ไม่อาจทำให้ผู้ฟังจดจ่ออยู่ได้นานโดยไม่เหลือบไปมองนาฬิกาเลย
    • สิ่งที่คุณไม่รู้ดี – แบ่งปันเวทีให้คนอื่น ไม่จำเป็นต้อง Solo คนเดียวทั้งหมด
    • กล่าวขอบคุณ “เพื่อนพนักงาน Partner และลูกค้าของคุณต่อสาธารณะเสมอ”
    ใช้อุปกรณ์ในการนำเสนอของคุณ
    • เกณฑ์การสาธิตที่ดี คือ สั้น-เรียบง่าย-ตรงจุด-กระชับ-ได้สาระ
    • ให้บางสิ่งบางอย่างกับผู้ฟังให้ได้เรียนรู้ทั้ง – ดู/ฟัง/สัมผัส
    เปิดช่วง “โอ้แม่เจ้า”
    • “ผู้คนจะลืมสิ่งที่คุณพูด ผู้คนจะลืมสิ่งที่คุณทำ แต่ไม่มีวันลืมความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากคุณ” – Maya Angekou
    • ใช้การเล่าเรื่องของคุณ เปิดเผยข้อมูลใหม่ๆ ที่ผู้ฟังคาดไม่ถึง หรือใช้การสาธิตที่จะสร้างความทรงจำที่ดีให้กับกลุ่มผู้ฟัง
    • “นวนิยายที่ดีจะไม่เผยพล็อตเรื่องทั้งหมดออกมาแต่แรก แต่จะค่อยๆ เปิดเผยออกมาทีละน้อยอย่างน่าติดตาม ตามลำดับ”
    องก์ที่ 3 : ขัดเกลาและฝึกซ้อม
    เทคนิคการครองเวที (ควรเปิด YouTube ดูการนำเสนอของ Jobs)
    • ลักษณะเด่นที่ทำให้จ๊อบส์ครองเวทีในการนำเสนอได้ คือ ทีท่าที่น่าเกรงขาม น้ำเสียง ท่าทาง และภาษากายที่บ่งบอกถึงอำนาจ ความมั่นใจ และพลัง
    • “เน้นคำสำคัญในทุกย่อหน้า และเน้นเป็นพิเศษกับคำที่สำคัญที่สุดในประโยค รวมถึงออกท่าทางและใช้มือประกอบการพูด (Body Language)” – ลองหา clip ใน YouTube ของ Steve Jobs
    เทคนิค 3 ประการที่จะช่วยพัฒนาภาษากาย (Body Language)
    • “สบตา” – สบตากับผู้ฟัง และอ่านข้อความจาก slide หรือ Note ที่จดมาให้น้อยที่สุด (ต้องฝึกมากหากอยากทำได้เนียน)
    • “ยืนในท่าเปิด” – อย่าไปยืนหลังโพเดียม หรือเอามือมาประสานไว้ข้างหน้า “การยืนในท่าเปิด” หมายถึง ต้องไม่นำอะไรมาขวางกันระหว่างผู้นำเสนอกับผู้ฟัง
    • “ใช้มือประกอบการพูด” – การทำให้มือสองข้างอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับไปไหนเลยทำให้คุณดูแข็ง เกร็ง และเป็นงานเป็นการมากเกินไป และบางทีอาจทำให้คุณดูแปลกได้
    • มีงานวิจัยสนับสนุนว่า “นักพูดที่มีความสามารถพิเศษเหนือผู้อื่นมักจะออกท่าทางมากกว่าผู้พูดทั่วไป (McNeill, 1980)
    •อย่างไรก็ตามต้องฝึกฝนให้ออกท่าทางงอย่างเป็นธรรมชาติ และไม่เยอะเกินไปหรือน้อยเกินไป
    การพูดอย่างมีสไตล์ – เล่าเรื่องให้ได้ด้วยน้ำเสียง และอารมณ์ที่เหมาะเจาะ สิ่งที่ต้องคำนึง
    • เสียงสูง-ต่ำ – อย่า monotone
    • มีการหยุดเว้นช่วง – การสร้างอารมณ์ได้ดีคือหยุดเว้นช่วงในจังหวะที่เหมาะสม
    • ระดับความดังของเสียง – ตัวอย่างของ Jobs
    • มักใช้เสียงดังเร้าอารมณ์เมื่อเปิดตัวสินค้าใหม่มาแรง
    • ใช้การลดเสียงให้ค่อยในช่วงการสร้างความอยากรู้อยากเห็นก่อนประกาศเรื่องสำคัญ และเร่งเสียงให้ดังขึ้นเมื่อมาถึงจุดสำคัญ
    • ระดับความเร็ว – พูดเป็นความเร็วปกติ แต่พูดให้ช้าลงเมื่อถึง “Headline” และ “ข้อความที่สำคัญ”
    • วิธีการฝึกที่ดี – ให้บันทึกการพูดของตัวเองไว้ เพื่อดูการพูดและ Body language (การฟังวิธีการพูดของตัวเองคือวิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาการนำเสนอของคุณเอง”
    ทำให้มันดูเป็นเรื่องง่าย
    • การฝึกซ้อมเพื่อการพัฒนา คือ หัวใจสำคัญที่สุด
    • ฝึกตอบคำถามที่ไม่รู้ล่วงหน้า
    • คิดคำถามที่น่าจะถูกถามให้มากที่สุด
    • แยกประเภทคำถามที่คิดขึ้นมาได้
    • หาคำตอบที่ดีที่สุดแยกตามประเภทคำถามที่ถูกแยก
    • ฟังคำถามให้ดี จับคำหลักให้ได้
    • สบตาผู้ถามพร้อมตอบด้วยความมั่นใจ
    แต่งกายให้เหมาะสม
    • ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะกับกาลเทศะและสถานที่ (ข้อคิด – ผู้นำที่ยิ่งใหญ่จะแต่งตัวดีกว่าคนในห้องเล็กน้อย)
    • แต่งตัวให้เหมือนผู้นำที่คุณอยากเป็น ไม่ใช่ตำแหน่งที่คุณเป็น
    โยนสคริปต์ทิ้งไป
    • “อย่าอ่าน Note เวลานำเสนอ!!!”
    • 5 ขั้นตอนในการโยนสคริปต์ทิ้งไป
    • เขียนไอเดียแบบเต็มประโยคในช่อง Note ใน PowerPoint อย่างง่ายๆ เอาให้ง่ายอย่าให้เกิน 4-5 ประโยค
    • Highlight ข้อความสำคัญ และ “ซ้อมๆๆ”
    • หลังซ้อมๆๆๆ ให้กลับมาลบข้อความส่วนเกินใน Script ทิ้งไป ให้เหลือเพียงข้อความสำคัญเพื่อเตือนความทรงจำเท่านั้น
    • จำไว้ “1 ไอเดียสำคัญ ต่อ 1 slide เท่านั้น”
    • สุดท้ายฝึกซ้อมการนำเสนอทั้งหมดโดยไม่ใช้ Note อาศัยแค่ slide เป็นตัวบอกบท ซ้อมพูดแต่ละ slide อย่างน้อย 4 ครั้ง
    สนุก
    • เข้าใจคำว่า “สาระบันเทิง” = สาระ + บันเทิง (เคล็ดลับ – ขอให้สนุกกับมันก่อน แล้วสาระบันเทิงก็จะตามมาเอง)
    • หากเกิดปัญหาขึ้นระหว่างที่เรานำเสนอ “ไม่จำเป็นต้องบอกขอโทษ” แต่ให้ยอมรับว่ามีปัญหา ยิ้ม และเดินหน้าต่อไป (อย่าทำให้รู้สึกเป็นเรื่องใหญ่) – หมายเหตุ : ลองดู YouTube การเปิดตัว iPhone ในงาน Mac World 2007 ตอนที่พูด Market Opportunity ดูว่าจ็อบส์ทำอย่างไรตอน slide ค้าง
    • เปลี่ยนมุมมองของคุณใหม่เสีย เมื่อมีบางอย่างไม่ได้เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ ก็ไม่จำเป็นว่ามันคือ “ความผิดพลาด” จงรักษาภาพใหญ่ในการนำเสนอไว้ สนุกสนาน และปล่อยให้เรื่องหยุมหยิมผ่านไป


    "Being the richest man in the cemetery doesn't matter to me. Going to bed at night saying we've done something wonderful, that's what matters to me. Sometimes when you innovate, you make mistakes. It is best to admit them quickly, and get on with improving your other innovations."
    The Wall Street Journal, May 25, 1993
    Credits : www.ipattt.com

    0 ความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น

     

    Blogger news

    About

    Blogroll